
นิติบุคคลอาคารชุดเซ็นทริค ซีน สุขุมวิท 64 เลขที่ 2544 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ โทร.02-744-9999, 02-744-8211 มือถือ.086-339-2044 แฟกซ์.02-744-9000 จุดประสงค์ : เพื่อรายงานความคืบหน้า รายงานผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของฝ่ายจัดการฯ เพื่อให้ท่านคณะกรรมการ เจ้าของร่วม รวมทั้งผู้พักอาศัยได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง รวมทั้งรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปฏิบัติ "ร่วมสร้างสรรค์ สังคมน่าอยู่"
Friday, August 30, 2013
อาคารเสร็จแล้ว ทำทาง เข้า-ออก สู่ถนนสาธารณะ จะทำได้ตามอำเภอใจ หรือ มีกฎหมายใดควบคุม
หลังจากลำบากยากเข็ญ ฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการ กว่าจะได้ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารมาชื่นชม แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งเย็นใจไป เพราะ ชีวิตมันไม่ง่ายเช่นนั้น เนื่องจาก เมื่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ปัญหาต่อมาก็คือ จะเปิดทางเข้า-ออกของอาคาร ไปสู่ถนนสาธารณะ น่ะสิ จะทำยังไง? เนื่องจากรถยนต์คันงามของเรา มันขับมาจ่ออยู่ได้แค่แนวรั้วอันสวยงามตระการตา ที่เราบรรจงสรรสร้างมาด้วยหยาดเหงื่อ แรงกาย เพราะ จากถนนส่วนตัวของเรา หลังแนวรั้ว ก่อนจะเชื่อมเข้าถึงถนนสาธารณะได้ กลับกลายมีทางเท้ามาขวางกั้น ครั้น ไตร่ตรองดู อยากจะทุบทิ้งเสียเองก็เกรงจะกลายเป็นทำลายของหลวง หากไม่ทุบออกเสียเล่า แล้วรถยนต์ของเรามันจะวิ่งออกไปได้ยังไงหนอ? ขอบอกไว้ ณ จุดนี้ ว่า ที่กรุงเทพมหานครของเรา นั้น การทุบทางเท้าเราจะนึกทำตามอำเภอใจมิได้ เพราะ มีบทกฎหมายกำกับไว้อยู่ ลองมาดูซิว่ากฎหมาย นั้น มันมีชื่อเรียกว่ากระไร.
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจราจรและความปลอดภัยแก่ผู้สัญจร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงวางระเบียบไว้ เรียกว่า:-
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วย การขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๓๑
เมื่อรู้แล้ว ว่ามีกฎหมายควบคุมอยู่ เรามาดูซิว่า การเปิดทางเข้าสู่ถนนสาธารณะ นั้น กฎหมายกำหนดไว้กี่แบบ
กวาดสายตาไปที่ ข้อ ๔ ของระเบียบฯ จะเห็นได้ว่า มีอยู่ ๓ แบบ คือ:-
การตัดคันหินทางเท้า
การลดระดับคันหินทางเท้า
การทำทางเชื่อม
คราวนี้ ทั้งสามแบบแตกต่างกันอย่างไร เราลองมาพิจารณาดู
การตัดคันหินทางเท้า หมายความว่า:- การตัดคันหินทางเท้าเพื่อทำทางเข้าออกในที่สาธารณะ โดยให้พื้นทางเข้าออกอยู่ระดับเดียวกับทางเท้า และลาดลงบรรจบกับผิวจราจรตรงขอบคันหิน มีความลาดชันร้อยละ ๒๕ หรือมีส่วนลาดยาวไม่เกิน ๗๕ เซนติเมตร รัศมีผายปากเท่ากับความกว้างของทางเท้า แต่ไม่เกิน ๕ เมตร
แยกองค์ประกอบได้ ดังนี้:-
การตัดคันหินทางเท้า
เพื่อทำทางเข้าออก
ในที่สาธารณะ
โดยให้พื้นทางเข้าออก
อยู่ระดับเดียวกับทางเท้า
และลาดลงบรรจบกับผิวจราจรตรงขอบคันหิน
มีความลาดชันร้อยละ ๒๕
หรือมีส่วนลาดยาวไม่เกิน ๗๕ เซนติเมตร
รัศมีผายปากเท่ากับความกว้างของทางเท้า
แต่ไม่เกิน ๕ เมตร
การลดระดับคันหินทางเท้า หมายความว่า:- การลดระดับคันหินทางเท้าเพื่อทำทางเข้าออกในที่สาธารณะ โดยให้ตัดคันหินลดระดับลงเหลือ ๓ เซนติเมตร พื้นทางเข้าออกอยู่ระดับเดียวกับทางเท้าและลาดลงสู่ขอบคันหินที่ลดระดับ มีความลาดชันร้อยละ ๒๕ หรือมีส่วนลาดยาวไม่เกิน ๗๕ เซนติเมตร และมีความลาดคันหินตามแนวถนนข้างละไม่เกิน ๑ เมตร
แยกองค์ประกอบได้ ดังนี้:-
การลดระดับคันหินทางเท้า
เพื่อทำทางเข้าออก
ในที่สาธารณะ
โดยให้ตัดคันหิน
ลดระดับลงเหลือ ๓ เซนติเมตร
พื้นทางเข้าออกอยู่ระดับเดียวกับทางเท้า
และลาดลงสู่ขอบคันหินที่ลดระดับ มีความลาดชันร้อยละ ๒๕
หรือมีส่วนลาดยาวไม่เกิน ๗๕ เซนติเมตร
และมีความลาดคันหินตามแนวถนนข้างละไม่เกิน ๑ เมตร
การทำทางเชื่อม หมายความว่า:- การทำทางเชื่อมเพื่อเป็นทางเข้าออกสู่ผิวจราจรของถนนสาธารณะที่ยังก่อสร้างปรับปรุงไม่เต็มเขตทาง
แยกองค์ประกอบได้ ดังนี้:-
การทำทางเชื่อม
เพื่อเป็นทางเข้าออก
สู่ผิวจราจรของถนนสาธารณะ
ที่ยังก่อสร้างปรับปรุงไม่เต็มเขตทาง
พิจารณาแล้วพอจะสรุปความแตกต่าง ของการเปิดทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ แต่ละแบบได้ ดังนี้ คือ การตัดคันหินทางเท้า : บริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างทางเท้ากับถนนสาธารณะจะเป็นทางลาดไม่มีคันหินเหลือเป็นอุปสรรคกั้นอยู่เลย แต่ การลดระดับคันหินทางเท้า : ระหว่างทางเท้ากับถนนสาธารณะจะยังคงเหลือคันหินกั้นอยู่ นิดหน่อย โดยคันหินที่เหลือ นั้น จะสูงจากระดับถนนสาธารณะขึ้นมา ๓ เซนติเมตร ไม่ขาดไม่เกิน พอให้เห็นเป็นแนวอาณาเขต แต่รถยนต์ก็วิ่งขึ้นลงได้ ส่วน การทำทางเชื่อม : จะเป็นกรณีที่ถนนสาธารณะยังปรับปรุงไม่เต็มเขตทาง หรือก็คือ ยังไม่มีการทำคันหินทางเท้านั่นเอง ทั้งนี้ อาคารแต่ละประเภท นั้น ขนาดและจำนวนของช่องเปิด ที่กรุงเทพมหานครอนุญาตให้ จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นอาคารประเภทใด ส่วนเปิดได้กว้างเท่าไหร่ เปิดได้กี่ช่องทาง เชิญเข้าไปหาอ่านได้ในกฎหมาย ฉบับ ข้างต้น โดยพลัน.
ขอขอบคุณที่มา >>>http://www.oknation.net/blog/architect-bma-club/2010/12/22/entry-3
Monday, April 11, 2011
บรรยากาศอันหลากหลาย ณ เซ็นทริค ซีน สุขุมวิท 64
Friday, November 12, 2010
Wednesday, November 10, 2010
รายงานผลการปฏิบัติงานเดือนตุลาคม 2553 ชุดที่ 2
Thursday, August 26, 2010
การเปิดให้บริการล้างรถสำหรับท่านเจ้าของร่วม/ผู้พักอาศัย
Subscribe to:
Posts (Atom)